วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

เศษส่วน


1. ความหมายของเศษส่วน 
1.1 เศษส่วนหมายถึง ส่วนหนึ่งๆ ของจำนวนทั้งหมดที่แบ่งออกเป็นส่วนๆ เท่าๆ กัน เช่นแบ่งแตงโม 1 ผล ออกเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน แตงโม 1 ซีก หมายถึง 1 ใน 4 ของแตงโมทั้งหมด เขียนแทนด้วย 1/4
1.2 เศษส่วนหมายถึง ส่วนต่าง ๆ ของเซตที่ถูกแบ่งออกเป็นเซตย่อยที่มีจำนวนสมาชิกเท่ากัน เช่น เด็กชาย 2 คน คิดเป็น 2/6 = 1/3 ของจำนวนเด็กชาย 6 คน
1.3 เศษส่วนหมายถึง การเขียนเลขในรูปของผลหาร โดยมีเศษเป็นตัวตั้งและส่วนเป็นตัวหาร เช่น แบ่งเด็ก 6 คน ออกเป็น 3 กลุ่ม จะได้กลุ่มละกี่คน เขียนแทนด้วย 6/3 = 2 คน
2. การใช้สัญลักษณ์แทนเศษส่วน
ส่วนหมายถึง จำนวนทั้งหมดแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกัน
เศษหมายถึง จำนวนที่ต้องการจากจำนวนที่แบ่งเป็นส่วนๆ 

3. วิธีเขียนและอ่านเศษส่วน 
ใน 2 เขียน ½ อ่านว่า เศษหนึ่งส่วนสอง
ใน 9 เขียน 5/9 อ่านว่า เศษห้าส่วนเก้า 

ชนิดของเศษส่วน เศษส่วนแบ่งออกเป็น 4 ชนิด 
1. เศษส่วนแท้ คือ เศษส่วนที่มีค่าน้อยกว่า 1 หรือตัวเศษมีค่าน้อยกว่าส่วน เช่น 3/4 , 9/10 เป็นต้น
2. เศษส่วนเกิน คือ เศษส่วนที่มีค่ามากกว่า 1 หรือตัวเศษมีค่ามากกว่าส่วน เช่น 3/2 , 10/9 เป็นต้น
3. เศษส่วนคละ คือ เศษส่วนที่มีจำนวนเต็มและเศษส่วนแท้คละกัน
4. เศษซ้อน คือ เศษส่วนที่เศษหรือส่วนเป็นเศษส่วน หรือทั้งเศษส่วนเป็นเศษส่วน
การเขียนเศษเกิน
การเขียนเศษเกินในรูปจำนวนคละอาจทำได้โดยการนำตัวส่วนไปหารตัวเศษผลหารที่ได้จะเป็นจำนวนนับ   เศษที่เหลือเป็นตัวเศษโดยมีตัวส่วนคงเดิม

 2. การเขียนจำนวนคละในรูปเศษเกิน
2. การเขียนจำนวนคละในรูปเศษเกิน
การเขียนจำนวนคละในรูปเศษเกินอาจทำได้โดยนำตัวส่วนไปคูณจำนวนนับแล้วบวกกับตัวเศษ  ตัวส่วนคงเดิม



อ้างอิง   http://www.trueplookpanya.com/new/cms_detail/knowledge/16650-00/

การแทนพิกัดและรูปตัดกรวย

การแทนพิกัดและรูปตัดกรวย
            จากความพยายามที่หาหนทางนำเอาคณิตศาสตร์มาแทนรูปทรงเรขาคณิต โดยเริ่มจากในระนาบ จึงมีการกำหนดระนาบเป็นแกนสมมุติ x, y ซึ่งแทนระนาบใด ๆจุดบนระนาบ
เส้นตรงบนระนาบ            เมื่อจุดอยู่บนระนาบจึงแทนด้วยคู่ลำดับ เช่น จุด  3 , 3   และทางเดินของจุดก่อให้เกิดเป็นเส้น   เส้นตรงที่ลากผ่านจุดสองจุดบนระนาบ จึงเขียนแทนด้วยสมการทางเดินของจุด เช่น 2x + 2y = 4 เขียนเส้นทางเดินของเส้นตรงนี้ได้
วงกลมบนระนาบ            ถ้าเขียนรูปวงกลมลงบนระนาบ โดยอาศัยแกนพิกัดฉาก และให้จุดศูนย์กลางของวงกลมอยู่ที่คู่ลำดับ x , y เป็น  0 , 0 ดังรูป
            ทางเดินของจุด P(x,y)   เมื่อให้ระยะรัศมี  r  คงที่เสมอจะได้เส้นส่วนโค้งของวงกลม จากสมการของพีธากอรัสทำให้เราได้

OP2  =  OQ2  +  OP2หรือเขียนได้เป็นx2  +  y2  =  r2
             ซึ่งก็หมายถึงการแทนวงกลมลงบนระนาบที่มีรัศมี r และจุดศูนย์กลางอยู่ที่ (0,0) เราเขียนสมการทางเดินของจุดได้

             ยามค่ำคืนถ้าได้มีโอกาสสังเกตบนฟากฟ้าจะพบเห็นดาวที่สุกสว่างมีแสงเจิดจ้า ซึ่งได้แก่ดาวเคราะห์ และหากสังเกตต่อเนื่องไปหลาย ๆ วัน และอาจถึงหลายเดือนจะพบเห็นการเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวฤกษ์
             ในทางดาราศาสตร์ พบว่าทางเดินของดาวเคราะห์ต่าง ๆ และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี ในยุคแรกคอเปอร์นิคัส (corpernicus) เสนอทฤษฎีการโคจรของดาวเคราะห์เป็นรูปวงกลม แต่ต่อมาพบว่าไม่ถูกต้อง ในปี 1600 เคปเลอร์ (Kepler) ได้เริ่มศึกษารายละเอียดการโคจรของดาวเคราะห์ เคปเลอร์ได้ทำการบันทึกการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งดาวอังคารบนฟากฟ้า จนในปี 1609 ก็สามารถพิสูจน์ให้เห็นว่า ดาวอังคารเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์เป็นวงรี หลังจากนั้นก็พิสูจน์ได้ว่าดวงจันทร์ และดาวบริวารต่าง ๆ หมุนเป็นรูปวงรี
วงรีบนระนาบ            วงรี เป็นเส้นโค้งที่มีลักษณะใกล้เคียงกับวงกลม แต่มีจุดคงที่สองจุดเรียกว่า จุดโฟกัส เส้นโค้งที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของจุด ซึ่งลากมาจากจุดโฟกัสจะทำให้ผลบวกของเส้นทั้งสองนี้คงที่เสมอ

 ผลบวกของ F'P + FP มีค่าคงที่เสมอ เมื่อ P เคลื่อนที่ไปบนเส้นโค้ง
            หากลากเส้นผ่านระหว่างโฟกัสทั้งสอง จะตัดวงรีที่ A และ A' ความยาวนี้มีค่าเท่ากับ 2a เรียก แกนยาวของวงรี และเส้นที่ลากผ่านจุด C ไปตามแกน Y พบกับส่วนโค้งวงรีที่ B และ B' ซึ่งมีความยาว 2b เรียกว่า แกนสั้นของวงรี สมการของรูปวงรีเมื่อเขียนในรูปสมการจะได้


 

จานดาวเทียม            เทคโนโลยีการสื่อสารดาวเทียมประกอบด้วยจานรับสัญญาณ ตัวจานรับสัญญาณมีผิวโค้ง เพื่อรับสัญญาณที่ส่งตรงมาจากดาวเทียม และสะท้อนรวมกันที่จุดรับสัญญาณ เพื่อให้มีสัญญาณที่แรงขึ้น
            หรือเมื่อเราใช้ไฟฉายส่องเดินทาง สังเกตว่ามีกระจกสะท้อนแสงเพื่อรวมลำแสงให้พุ่งเป็นลำตรง โดยหลักการตามกฎการสะท้อนของแสง มุมตกกระทบย่อมเท่ากับมุมสะท้อน จุดที่รวมกันบนผิวระนาบโค้งนี้เรียกว่าจุดโฟกัส ผิวโค้งที่ทำให้มุมตกกระทบและสะท้อนมารวมกันที่จุดโฟกัส เรียกว่า ผิวโค้งพาราโบลา สมการของเส้นโค้งพาราโบลาเขียนได้ดังนี้

y   =   Ax2

 

ไฮเปอร์โบล่า             และถ้ามีจุดคงที่หรือจุดโฟกัสสองจุดเช่นเดียวกับวงรี ถ้าให้จุด ๆ หนึ่งเคลื่อนที่ไป โดยกำหนดให้ผลต่างระหว่างจุดที่เคลื่อนที่และจุดคงที่ทั้งสองมีค่าคงที่ เราจะได้เส้นโค้งที่เรียกว่า ไฮเปอร์โบลา และจะมีเส้นโค้งนี้สองเส้นที่ไม่ต่อกัน

 จากรูป ผลต่างของ P F' กับ P F มีค่าคงที่
            การศึกษาเส้นทางเดินของจุด ทำให้เคปเลอร์ทราบวิถีการโคจรของดาวเคราะห์ และต่อมานิวตันเข้าใจถึงหลักการของแรงโน้มถ่วง และทราบถึงผลของการเคลื่อนที่ที่มีต่อแรงโน้มถ่วง นอกจากนี้ฮัลเลย์ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังก็สามารถใช้หลักการ การเคลื่อนที่เป็นรูปวงรี และพาราโบลา และแรงโน้มถ่วงของดวงดาวต่าง ๆ ทำให้อธิบายปรากฎการณ์การเดินทางของดาวหาง และสามารถทำนายดาวหางว่าจะกลับมาให้เห็นอีกครั้งเมื่อไร

            การศึกษา เส้นโค้งที่กล่าวมาแล้วคือ วงกลม วงรี พาราโบลา และไฮเปอร์โบลา มีมานานแล้ว ตั้งแต่ยุคสมัยอียิปต์โบราณ ทั้งนี้เส้นโค้งเหล่านี้เกิดจากการตัดรูปกรวยที่มีฐานเป็นวงกลมด้วยพื้นราบในลักษณะต่าง ๆ
            ถ้าตัดด้านพื้นราบขนานกับฐาน ก็จะได้วงกลม ถ้าติดเอียงทำมุมก็จะได้รูปวงรี เมื่อพื้นราบเอียงจนขนานกับเส้นที่ลากจากยอดมาฐาน ก็จะได้รูปพาลาโบลา ถ้าใช้กรวยสองกรวยต่อจุดยอดกัน แล้วติดพื้นราบซึ่งตั้งฉากกับฐานกรวยจะได้รูปไฮเปอร์โบลา

พื้นราบตัดรูปกรวยแบบต่าง ๆ

เมื่อนำพื้นราบตัดรูปกรวยจะได้เส้นโค้งแบบต่าง ๆ
            เส้นโค้งและผิวโค้งทางคณิตศาสตร์ยังมีอีกมาก และเป็นศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย ลองค้นหาจากเอกสารต่าง ๆ ดูว่า เส้นโค้งทางคณิตศาสตร์ที่น่าสนใจเหล่านี้มีลักษณะอย่างไร cycloid, cardioid Ephicycloid Hypocycloid spiral ฯล
            ประโยชน์ของเส้นโค้งหรือผิวโค้งจึงมีมากมายและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอย่างมาก เช่น ขณะขับรถไปในท้องถนน ถ้าวิศวกรออกแบบถนนให้มีส่วนโค้งของผิวถนนขณะขึ้นสะพาน และลงระนาบพอดี ผู้ขับขี่ยวดยานจะไม่รู้สึกกระเพื่อม


ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อ้างอิง : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/history_math/math_cone.htm

คณิตศาสตร์กับเวลา

คณิตศาสตร์กับเวลา
             หลายคนคงนั่งคิดจินตนาการว่า กาลเวลาคืออะไร ทำไมเราจึงแบ่งช่วงเวลาของเราออกเป็นวินาที นาที  ชั่วโมง วัน เดือน ปี ระบบแห่งกาลเวลาที่ใช้กันในอดีตแต่ละท้องที่แตกต่างกัน ต่อมาปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบสากลเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน เช่นปีใหม่ของไทยแต่โบราณใช้วันสงกรานต์ เป็นการบ่งบอกวันเริ่มต้นปีใหม่ ของจีนใช้วันตรุษจีน ปีใหม่สากลใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นต้น
ปฏิทิน & นาฬิกาทราย            ความจริงแล้วกาลเวลาเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์โดยตรง จากที่กล่าวแล้วที่ชาวบาบิโลเนียได้แบ่งหน่วยตัวเลขในระบบฐานหกสิบ  และรู้จักกับการแบ่งเวลาในฐานหกสิบมากกว่าสองพันปีแล้ว เราแบ่งเวลาเป็นวินาที หกสิบวินาทีเป็นหนึ่งนาที หกสิบนาทีเป็นหนึ่งชั่วโมง และให้ยี่สิบสี่ชั่วโมงเป็นหนึ่งวัน
            มนุษย์เกี่ยวข้องกับเวลามาตั้งแต่พัฒนาการเริ่มแรกของชีวิตโลก  เป็นส่วนหนึ่งของระบบสุริยะจักรวาล มีพัฒนาการมาหลายพันล้านปี กาลเวลาจึงสัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่ กาลเวลาสัมพันธ์กับธรรมชาติ มนุษย์สังเกตเห็นพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และตกทางทิศตะวันตกในตอนเย็น เห็นดวงจันทร์ขึ้นและตกเช่นเดียวกัน แต่ปรากฏการณ์ของดวงจันทร์แตกต่างจากดวงอาทิตย์ คือ แต่ละวันขึ้นและตก แตกต่างเวลาออกไปเมื่อเทียบกับดาวอาทิตย์ และยังมีปรากฏการณ์แบ่งเป็นข้างขึ้นและข้างแรมดังที่เราเห็นอยู่ ชีวิตความเป็นอยู่จึงสัมพันธ์กับธรรมชาติ บนท้องฟ้าในเวลากลางคืนมีดาวเต็มท้องฟ้า ดาวที่เห็นมีทั้งดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ มนุษย์รู้จักแยกแยะดาวเคราะห์และดาวกฤษ์ โดยเห็นดาวเคราะห์ที่ปรากฎเด่นชัดตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ซึ่งได้แก่ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ และเมื่อรวมกับดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ จึงแบ่งสัปดาห์เป็นเจ็ดวัน และใช้ชื่อดาวที่รู้จักเป็นวันประจำสัปดาห์


ที่มา : รศ. ยืน ภู่วรวรรณ, สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
อ้างอิง : http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet2/knowledge_math/math_time.htm

สับเซตและเพาเวอร์เซต

สับเซตและเพาเวอร์เซต

สับเซตและเพาเวอร์เซต
     สับเซต
    บทนิยาม เซต A เป็นสับเซตของเซต B ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B และสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ⊂B
    ตัวอย่างที่ 1 A = {1, 2, 3}
    B = { 1, 2, 3, 4, 5}
    ∴ A ⊂ B
    ตัวอย่างที่ 2 C = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก } = {1,2,3,…}
    D = { x | x เป็นจำนวนคี่ } = {…,-3,-1,1,3,…}
    ∴ C D
    ตัวอย่างที่ 3 E = { 0,1,2 }
    F = { 2,1,0 }
    ∴ E ⊂ F และ F ⊂ E
    จากตัวอย่างที่ 3 จะเห็นว่า E ⊂ F และ F ⊂ E แล้ว E = F
    สับเซตแท้ เซต A จะเป็นสับเซตแท้ของเซต B ก็ต่อเมื่อ A ⊂ B และ A ≠ B
    จำนวนสับเซต ถ้า A เป็นเซตที่มีสมาชิก n สมาชิกแล้ว จำนวนสับเซตของเซต A จะมี 2n เซต และในจำนวนนี้เป็นสับเซตแท้ 2n – 1 เซต
    • เพาเวอร์เซต
    บทนิยาม เพาเวอร์เซตของเซต A คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสับเซตทั้งหมดของเซต A และสามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ P(A)
    ตัวอย่างที่ 1 A = Ø
    สับเซตทั้งหมดของ A คือ Ø
    ∴ P(A) = {Ø }
    ตัวอย่างที่ 2 B = {1}
    สับเซตทั้งหมดของ B คือ Ø, {1}
    ∴ P(B) = {Ø, {1} }
    ตัวอย่างที่ 3 C = {1,2}
    สับเซตทั้งหมดของ C คือ Ø, {1} , {2}, {1,2}
    ∴ P(C) ={Ø, {1} , {2}, {1,2} }
    เซต (Sets) หมายถึง กลุ่มสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของ
    หรือนิพจน์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งสามารถระบุสมาชิกในกลุ่มได้ และเรียก
    สมาชิกในกลุ่มว่า “สมาชิกของเซต”
    • การเขียนเซต
    การเขียนเซตนิยมใช้อักษรตัวใหญ่เขียนแทนชื่อเซต และสามารถเขียนได้ 2แบบ
    1. แบบแจกแจงสมาชิกของเซต
    ตัวอย่างเช่น A = {1, 2, 3, 4, 5}
    B = { a, e, i, o, u}
    C = {…,-2,-1,0,1,2,…}
    2. แบบบอกเงื่อนไขของสมาชิกในเซต
    ตัวอย่างเช่น A = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5}
    B = { x | x เป็นสระในภาษาอังกฤษ}
    C = {x | x เป็นจำนวนเต็ม}
    สัญลักษณ์ที่ใช้แทนเซตของจำนวนต่างๆมีดังนี้
    I- แทนเซตของจำนวนเต็มลบ
    Q- แทนเซตของจำนวนตรรกยะที่เป็นลบ
    I+ แทนเซตของจำนวนเต็มบวก Q+ แทนเซตของจำนวนตรรกยะที่เป็นบวก
    I แทนเซตของจำนวนเต็ม Q แทนเซตของจำนวนตรรกยะ
    N แทนเซตของจำนวนนับ
    R แทนเซตของจำนวนจริง
    • เซตจำกัด 
    บทนิยาม เซตจำกัด คือ เซตที่สามารถระบุจำนวนสมาชิกในเซตได้
    ตัวอย่างเช่น A = {1, 2, 3, 4, 5} มีสมาชิก 5 สมาชิก
    B = { a, e, i, o, u} มีสมาชิก 5 สมาชิก
    • เซตอนันต์
    เซตอนันต์ คือ เซตที่ไม่ใช่เซตจำกัด หรือเซตที่มีจำนวนสมาชิกมากมายนับไม่ถ้วน
    ตัวอย่างเช่่น C = {…,-2,-1,0,1,2,…}
    • เซตที่เท่ากัน
    เซต A และเซต B จะเป็น เซตที่เท่ากัน ก็ต่อเมื่อ สมาชิกทุกตัวของเซต A เป็นสมาชิกของเซต B และสมาชิกทุกตัวของเซต B เป็นสมาชิกทุกตัวของเซต A สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A= B
    ตัวอย่างเช่่น A = {1, 2, 3, 4, 5}
    B = { x | x เป็นจำนวนนับที่มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ 5}
    ∴ A = B
    • เซตว่าง
    เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก หรือมีจำนวนสมาชิกในเซตเป็นศูนย์ สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ {} หรือ Ø
    ตัวอย่างเช่่น A = {x | x เป็นจำนวนเต็ม และ 1 < x < 2} ∴ A = Ø
    B = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก และ x + 1 = 0 } ∴ ฺB = Ø
    เนื่องจากเราสามารถบอกจำนวนสมาชิกของเซตว่างได้ ดังนั้น เซตว่างเป็นเซตจำกัด
    • เอกภพสัมพัทธ์
    เอกภพสัมพัทธ์ คือ เซตที่ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมดของสิ่งที่เราต้องการจะศึกษา สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ u
    ตัวอย่างเช่่น ถ้าเราจะศึกษาเกี่ยวกับจำนวนเต็ม
    U = {…,-2,-1,0,1,2,…}
    หรือ U = {x | x เป็นจำนวนเต็ม.}

จำนวนฟีโบนัชชี(fibonacci)

จำนวนฟีโบนัชชี(fibonacci)

มารู้จักกับ จำนวนฟีโบนัชชี(fibonacci) 

ว่ามันคืออะไร

จำนวนฟีโบนัชชี หรือ เลขฟีโบนัชชี (Fibonacci number) คือลำดับของจำนวนเต็ม
โดยมีนิยามของความสัมพันธ์ว่า จำนวนถัดไปเท่ากับผลบวกของจำนวนสองจำนวนก่อนหน้า
 และสองจำนวนแรกก็คือ 0 และ 1 ตามลำดับ และลำดับของจำนวนดังกล่าวก็จะเรียกว่า ลำดับฟีโบนัชชี

ตัวอย่างลำดับเลขฟีโบนัชชี
0 1 1 2 3 5 8 13 21 34 55 89 144 233 377 610 987 1597 2584
4181 6765 10946 17711 ...

เลขฟีโบนักชีสามารถเขียนเป็นอนุกรมได้ดังนี้คือ
1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, x, y, x+y, …

(ตัวเลขตำแหน่งที่ n เท่ากับตัวเลขตำแหน่งที่ n-1
บวกกับตัวเลขตำแหน่งที่ n-2 หรือ Xn = Xn-1 + Xn-2)



เลขฟีโบนัชชี (Fibonacci numbers) ถูกค้นพบโดย เลโอนาร์โด ฟีโบนักชี (Leonardo Fibonacci) นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาเลียน หรือชื่อเดิมคือ เลโอนาร์โด ดาปิซา (Leonardo daPisa) เนื่องจากเขาเป็นบุตรของพนักงานศุลกากร จึงทำให้คุ้นเคยกับระบบเลขฐานสิบ แบบฮินดู-อารบิกเป็นอย่างดี

ฟีโบนักชีได้พาเราเข้าสู่รหัสลับของธรรมชาติผ่านอนุกรมตัวเลขที่เขาคิดค้นขึ้น จากการสังเกตและศึกษาแง่มุมต่างๆ ทางธรรมชาติเช่น รูปแบบของการเกิดฟ้าแลบ รูปแบบการขยายพันธุ์และการจัดเรียงทางกายภาพของพืชและสัตว์ ฯลฯ ฟีโบนักชีได้พบว่า ธรรมชาติเหล่านี้มีรูปแบบที่ค่อนข้างเสถียร สามารถนำมาแสดงเป็นลำดับเลขคือ 1 1 2 3 5 8 13 21 34 55 89… ซึ่งมีวิธีจัดเรียงลำดับจากการนำตัวเลขที่อยู่สองตัวข้างหน้ามาบวกกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นตัวเลขถัดไป เช่น 1 + 1 = 2, 1 + 2 = 3, 2 + 3 = 5, 3 + 5 = 8

ทว่า สิ่งที่ทำให้เราต้องพิศวงยิ่งไปกว่านั้นคือ ลำดับฟีโบนักชีตั้งแต่ตัวเลขค่าที่สี่เป็นต้นไป มีอัตราส่วนจากการหารตัวเลขลำดับหลังด้วยตัวเลขลำดับหน้า เช่น 5 หารด้วย 3, 8 หารด้วย 5, 13 หารด้วย8, 21 หารด้วย 13 ได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงเลข 1.618 และเมื่อตัวเลขเพิ่มขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จะยิ่งใกล้เคียง 1.618 เป็นลำดับ ปราชญ์ในอดีตจึงเรียกชื่อตัวเลข 1.618 นี้เป็นภาษากรีกโบราณว่า “ฟี” (Phi) หรือ“อัตราส่วนทองคำ” (Golden ratio) และถือเป็นสัดส่วนที่ธรรมชาติได้บรรจงสร้างไว้อย่างมหัศจรรย์

การปรากฏของลำดับฟีโบนักชีในธรรมชาติมีตัวอย่างมากมายได้แก่ การจัดเรียงเกสรดอกทานตะวัน ตาสับปะรด ตาลูกสน รวมถึงเกลียวโค้งของหอยนอติลุส ต่างก็มีอัตราส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางของแต่ละวงเทียบกับวงถัดไปเท่ากับค่า Phi ทั้งสิ้น หากอยากพิสูจน์ว่าแต่ละวงจัดเรียงตามลำดับฟีโบนักชีจริงหรือไม่ ให้นำ 1.618 คูณหรือหารด้วยเส้นผ่านศูนย์กลางของวงนั้นๆ ก็จะสามารถทราบค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของวงถัดไปได้โดยไม่ยาก

เมล็ดของดอกทานตะวัน ในวงที่มีเกลียวการหมุนตามเข็มนาฬิกา มีจำนวนทั้งสิ้น 55 เมล็ด (เครื่องหมายสีแดง) ในขณะที่วงที่มีเกลียว การหมุนทวนเข็มนาฬิกา มีจำนวนทั้งสิ้น 89 เมล็ด (เครื่องหมายสีเขียว)

ต้นตะบองเพชรที่มีลักษณะการจัดเรียงตัวของปุ่มหนามสอดคล้องกับเลขฟีโบนักชี โดยมีวงเกลียวของปุ่มหนามที่หมุนตามเข็มนาฬิกา 3 วง (เส้นสีแดง) และมีวงเกลียวที่หมุนทวนเข็มนาฬิกาจำนวน 5 วง (เส้นสีเหลือง) โดยที่ 3 และ 5 ก็คือลำดับเลขฟีโบนักชี

ความยาวของกระดูกนิ้วมือแต่ละข้อจะมีอัตราส่วนเรียงตามลำดับเลขฟีโบนักชี

หรือในกรณีการผลิใบของพืช นักชีววิทยาพบว่าการผลิใบใหม่จะทำมุม 137.5 องศากับแนวใบเดิม หากนำค่ามุม 360 องศาลบด้วย 137.5 ได้ผลลัพธ์ 222.5 และนำ 222.5 หารด้วย 137.5คำตอบที่ได้จะเท่ากับค่า Phi อย่างน่าอัศจรรย์ นักชีววิทยายังได้เผยอีกว่า มุม 137.5 องศานี้เป็นมุมที่ดีที่สุดในการรับแสงของใบไม้สำหรับการสังเคราะห์อาหาร

นอกจากนี้ลำดับเลขฟีโบนักชียังสามารถใช้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างเพศผู้กับเพศเมียในสังคมผึ้ง โดยผึ้งตัวเมียจะมีจำนวนมากกว่าผึ้งตัวผู้เสมอ และหากนำจำนวนผึ้งตัวเมียหารด้วยจำนวนผึ้งตัวผู้ไม่ว่ารังใดก็ตาม ค่าที่ได้คือ 1.618

จากธรรมชาติรอบกาย สู่อวัยวะภายในของมนุษย์ ลำดับเลขฟีโบนักชีและค่า Phi ยังมีความเชื่อมโยงกับอวัยวะต่างๆ อย่างน่าพิศวง เริ่มจากอัตราการเต้นของหัวใจ ซึ่งความต่างของจังหวะยาวกับจังหวะสั้นมีค่าประมาณ 1.618 เท่า ขณะเดียวกัน ลักษณะโครงหน้าที่จิตรกรและประติมากรยอมรับกันว่าได้รูปสวยงามที่สุดมีสัดส่วนเทียบเท่ากับ 1.618 ด้วยเช่นกัน

นอกจากมนุษย์จะใช้ลำดับเลขฟีโบนักชีในการไขปริศนาของธรรมชาติแล้ว ยังได้ประยุกต์ใช้ในงานทัศนศิลป์และดุริยางคศิลป์ต่างๆ ดังปรากฏให้เห็นในประวัติศาสตร์จำนวนมาก อาทิ ภาพวาดโมนาลิซา ผลงานชิ้นเอกของเลโอนาโด ดาวินชี จิตรกรชื่อก้องโลกเจ้าของรอยยิ้มอันลึกลับมีอัตราส่วนของใบหน้าเท่ากับค่า Phi อย่างลงตัว ส่วนสถาปัตยกรรมเลื่องชื่ออย่างมหาวิหารพาร์เธนอนของกรีกและมหาพีระมิดแห่งอียิปต์ ต่างก็ใช้ค่า Phi ในการออกแบบโครงสร้างทั้งสิ้น

แม้แต่ในโลกแห่งดนตรี ค่า Phi ได้ปรากฏอยู่ในโครงสร้างการวางระบบเพลง ทั้งบทเพลงโซนาตาของโมซาร์ท ซิมโฟนีหมายเลขห้าของเบโธเฟน รวมถึงเครื่องดนตรีคลาสสิกอย่างไวโอลิน เมื่อนำความยาวของฟิงเกอร์บอร์ดมาเปรียบเทียบกับความยาวของไวโอลินจะได้ผลลัพธ์เป็นค่า Phi

แม้ไม่อาจสรุปได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างลำดับเลขฟีโบนักชีกับธรรมชาตินั้น เป็นความบังเอิญที่มนุษย์พยายามหาความเชื่อมโยงหรือเป็นความตั้งใจของธรรมชาติ แต่สิ่งที่แน่นอนคือลำดับเลขฟีโบนักชีและค่า Phi ได้รับการยกย่องทั้งจากวงการคณิตศาสตร์และศิลปะว่าเป็นตัวเลขที่งดงามที่สุด และเปรียบเสมือนรหัสลับที่แฝงไว้กับสรรพสิ่งทั้งหลายในธรรมชาติอย่างแนบเนียน

Fibonacci…one of the most famous number series, most of us may hear it from a famous novel and box office movie – The Da Vinci Code, which Fibonacci takes part as a mysterious plot, but in reality, the nature wonders are even more intriguing.
ได้ข้อมูลที่ต้องการกันแล้วก็อย่าลืมคอมเม้นกันนะค่ะ

ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน

     ลิมิตและความต่อเนื่องของฟังก์ชัน
      1.   ลิมิตของฟังก์ชัน
      ลิมิตของฟังก์ชัน           เป็นการพิจารณาค่า หรือ f(x) ของฟังก์ชันขณะที่ เข้าใกล้จำนวนจริง                                                                                จำนวนใดจำนวนหนึ่ง   
        การเข้าใกล้จำนวนใดจำนวนหนึ่งของค่า มี กรณี
        กรณีที่ 1         เข้าใกล้ทางด้านซ้าย
        กรณีที่ 2         เข้าใกล้ทางด้านขวา
        เช่น                เมื่อ เข้าใกล้ บนเส้นจำนวน



                                                ·    ·    ·    ·    ·    ·    ·    ·    ·
                                               -4   -3    -2    -1    0     1     2     3     4

        การเข้าใกล้ทางด้านซ้าย  หมายถึง จะเริ่มจากค่าที่น้อยกว่า แล้วเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ถึง 0
        การเข้าใกล้ทางด้านขวา   หมายถึง จะเริ่มจากค่าที่มากกว่า แล้วลดลงเรื่อยๆ แต่จะไม่ถึง 0
โดยทั่วไปแล้วในการพิจารณาว่าเมื่อ เข้าใกล้จำนวนจริง ใดๆ   จะพิจารณาทั้งสองกรณี   คือ
เมื่อ     เข้าใกล้ ทางซ้าย   [x < a]                 ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์       a-
และ     เข้าใกล้ ทางขวา   [x > a]                ซึ่งเขียนแทนด้วยสัญลักษณ์      a+

ตัวอย่างที่ 1           พิจารณาฟังก์ชัน   f(x) = 2x    ขณะที่ เข้าใกล้ 
แบบตาราง
                ด้านซ้ายของ 0                     
x
.....
-3
-2
-1
-0.5
-0.1
.....
y = f(x)
.....
-6
-4
-2
-1
-0.2
.....

                จะเห็นว่าขณะที่ เข้าใกล้  0  ทางด้านซ้าย   ค่าของ f(x) เพิ่มขึ้นและเข้าใกล้ เรียก 
” 0 ว่า ลิมิตซ้ายของ f(x) = 2x เมื่อ เข้าใกล้ ทางด้านซ้าย “  เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 
                ด้านขวาของ 0     
x
.....
3
2
1
0.5
0.1
.....
y = f(x)
.....
6
4
2
1
0.2
.....

                จะเห็นว่าขณะที่ เข้าใกล้ ทางด้านขวา   ค่าของ  f(x)  ลดลงและเข้าใกล้ เรียก 
“0 ว่า ลิมิตขวาของ f(x) = 2x เมื่อ เข้าใกล้ ทางด้านขวา เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  
                      จะเห็นว่าค่าของ  f(x) เข้าใกล้ 0   ขณะที่  เข้าใกล้  ที่ทางด้านซ้ายและด้านขวา  ดังนั้นกล่าวว่า   
“ ฟังก์ชัน  f(x) = 2x   เมื่อ เข้าใกล้ มีลิมิตเท่ากับ 0 “ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์   หรือ 

แบบกราฟ            
                                                                                 y                         f(x) = 2x
                                                                                 6
                                                                                 4
                                                                                 2
                                             
                                                                                    -2
                                                                                    -4
                                                                                    -6        

กรณีทางซ้ายของ 0    :   จะเห็นว่าขณะที่ x เพิ่มขึ้นจนเข้าใกล้ ค่าของ f(x) ก็เพิ่มขึ้นเข้าใกล้ 0
กรณีทางขวาของ 0    :   จะเห็นว่าขณะที่ น้อยลงจนเข้าใกล้ ค่าของ f(x) ก็จะลดลงจนเข้าใกล้ 0

ตัวอย่างที่ 2           พิจารณาฟังก์ชัน   f(x) = x+3    ขณะ เข้าใกล้ 2
แบบตาราง
                ด้านซ้ายของ 2                     
x
.....
1
1.5
1.75
1.85
1.9999
.....
y
.....
4
4.5
4.75
4.85
4.9999
.....
                จะเห็นว่าขณะที่  เข้าใกล้ 2 ทางด้านซ้ายค่าของ f(x) เพิ่มขึ้นและเข้าใกล้ 5    เรียก 
“5 ว่า ลิมิตซ้ายของ f(x) = x+3   เมื่อ เข้าใกล้ ทางด้านซ้าย เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ 
                ด้านขวาของ 2     
x
.....
3
2.5
2.25
2.15
2.0001
.....
y
.....
6
5.5
5.25
5.15
5.0001
.....
                จะเห็นว่าขณะที่  เข้าใกล้ 2 ทางด้านขวา   ค่าของ f(x) ลดลงและเข้าใกล้ 5    เรียก 
“5 ว่า ลิมิตขวาของ f(x) = x+3 เมื่อ เข้าใกล้ 2 ทางด้านขวา เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์  
                      จะเห็นว่าค่าของ  f(x) เข้าใกล้ 5   ขณะที่ เข้าใกล้ 2 ที่ทางด้านซ้ายและด้านขวา ดังนั้นกล่าวว่า   
ฟังก์ชัน f(x) = x+3   เมื่อ เข้าใกล้ มีลิมิตเท่ากับ 5 “เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์   หรือ 
แบบกราฟ                                                           y
                                                                                 8                                                 f(x) = x+3           
                                                                                 6
                                                                                 4
                                                                                 2
                                             
                                                                               -2
                                                                               -4
                                                                               -6             

กรณีทางซ้ายของ 2    :   จะเห็นว่าขณะที่ x เพิ่มขึ้นจนเข้าใกล้ ค่าของ f(x) ก็เพิ่มขึ้นเข้าใกล้ 5
กรณีทางขวาของ 2    :   จะเห็นว่าขณะที่ น้อยลงจนเข้าใกล้ ค่าของ f(x) ก็จะลดลงจนเข้าใกล้ 5

สำหรับฟังก์ชัน ใดๆ ที่มีโดเมนและเรนจ์เป็นสับเซตของเซตจำนวนจริง
กล่องข้อความ: x®a-                 ถ้าค่าของ f(x) เข้าใกล้ จำนวนจริง L1 เมื่อ มีค่าเข้าใกล้ ทางด้านซ้าย เรียก “L1 ว่า ลิมิตซ้ายของ ที่ a “เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์   lim f(x) = L1     

กล่องข้อความ: x®a+                 ถ้าค่าของ f(x) เข้าใกล้จำนวนจริง L2 เมื่อ มีค่าเข้าใกล้ ทางด้านขวา เรียก “Lว่าลิมิตขวาของ ที่ a “เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์   lim f(x) = L

กล่องข้อความ: x®a      ถ้า  L1 = L2 = L จะกล่าวว่า ฟังก์ชัน มีลิมิตเป็น ที่ เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ lim f(x) = L
แต่ถ้า L1 L2 จะกล่าวว่าฟังก์ชัน ไม่มีลิมิตที่ a
ข้อสังเกต     สำหรับบางฟังก์ชันอาจพบว่าหาค่าของฟังก์ชันเมื่อ x = a ไม่ได้ แต่หาลิมิตของฟังก์ชันได้
ตัวอย่างที่ 3           กำหนดให้    
                                จงหา               1.                                        2.                                        3.  
วิธีทำ                      เขียนกราฟของฟังก์ชันที่กำหนดให้ได้ดังนี้
                                                                                      Y
5-                          y = x2
4-
3-
2-
     y = x+2              1-
                                                            -2     -1        0        1        2       3       4      5                 X
                                               
จากกราฟ        1.   เมื่อ             x 2             จะได้               
                                                2.   เมื่อ             x < 2               จะได้               
                                                3.   เนื่องจาก                 
                                                      ดังนั้น                         

ตัวอย่างที่ 4           จงพิจารณาว่า           มีลิมิตที่ หรือไม่
วิธีทำ                      จาก                         
                                ถ้า   x > 0               จะได้            =      1
                                ถ้า   x < 0                   =     -1      
                                นั้นคือ                                    และ              
                                เนื่องจาก               
                                ดังนั้น                           ไม่มีลิมิตที่ 0
ตัวอย่างที่ 5           กำหนดให้    f(x) = | x2- 4 |     จงหา
                                1.                                     2.          
วิธีทำ                                      จาก         f(x) = | x2- 4 |
                                                จะได้      f(x)  =   x2- 4        เมื่อ      2   หรือ   -2
                                                                         f(x)  =   4 – x2                              เมื่อ      -2 < x < 2
                                                เขียนกราฟของฟังก์ชันได้ดังนี้
                              Y
4-
3-                                   f(x)
2-
1-
     -3       -2      -1       0     1      2      3                       X

                                               
                                จากกราฟจะได้       1.   
                                                                2.